เริ่มต้น ปี 2563 มาด้วยปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ยังไม่ทันจางประเทศไทยเราต้องโดนแทรกคิวมาด้วยการระบาดของไวรัสโควิด 19 ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่าน้ัน เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบไปทั่วทุกมุมโลก ทั่วทุกวงการ แต่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด คงหนีไม่พ้นวงการธุรกิจ และแรงงาน ประชากรกว่าครึ่งต้องเสี่ยงกับสภาวะตกงานอันนำไปสู่การไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ที่มี ในเมื่อขาดรายได้แต่รายจ่ายยังเท่าเดิม
ปัญหาเหล่านี้ทำเอาลูกหนี้หลายคนถึงกับท้อใจด้วยภาระทางการเงินของประชาชนในสถานการณ์นี้ถึงแม้ทางรัฐบาลจะออกมาตรการปลดล็อกดาวน์ และกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากสถานการณ์ Covid-19 ระยะที่ 1 ออกมา ด้วยการให้ผู้ที่ได้ร้บผลกระทบยื่นผ่อนผัน และพักการชำระหนี้เป็นเวลา 3 เดือน และสิ้นสุดไปเมื่อสิ้นเดือน มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา แต่เศรษฐกิจภาพรวมและภาระหนี้ของประชาชนก็ยังไม่ได้ดีขึ้นเท่าที่ควร
ขณะนี้เดินทางมาถึงสิ้นปีพร้อมกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากผลกระทบ COVID-19 ระยะที่ 2 ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวัน ที่ 19 มิ.ย. 2563 โดยจะเน้นการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้รายย่อยเพื่อให้ยังคงมีกระแสเงินสดหมุนเวียนในการบริหารกิจการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ในส่วนของลูกหนี้ SMEs ได้รับการช่วยเหลือผ่านมาตรการเลื่อนกำหนดการชำระหนี้ตาม พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 อีกทางหนึ่งแล้ว
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากผลกระทบ COVID-19 ระยะที่ 2 ฉบับอัพเดท !
1. ลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ร้อยละ 2-4 ต่อปีสำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ มีผลตั้งแต่วันที่1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
2. เพิ่มวงเงินบตัรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด มีผลตั้งแต่ 1 ส.ค. 2563 – 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกหนี้ที่จำเป็นต้องการวงเงินเพิ่ม และมีประวัติและพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีโดยมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ขยายวงเงินจาก 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้ต่อเดือน เป็นการชั่วคราว
3. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 เพิ่มเติม มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2563 ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ และเป็น NPLs หรือกลุ่มลูกค้าที่มีหนี้ค้างชำระและหนี้เสีย ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 โดยผู้ให้บริการทางการเงินต้องจัดให้มีการช่วยเหลือแบบกำหนดขั้นต่ำในการชำระหนี้หรือขยายเวลางวดการชำระหนี้ให้นานขึ้นเพื่อเฉลี่ยต่อเดือนแล้วน้ัน จำนวนเงินที่ลูกหนี้ต้องชำระจะลดลง
4. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ผู้ให้บริการทางการเงินต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ และบรรเทาภาระทางการเงินให้กับลูกหนี้ เช่น ขยายเวลาการชำระหนี้ ลดดอกเบี้ย หรือชะลอการบังคับคดีและยึดทรัพย์เพื่อไม่ให้ลูกหนี้ได้รับผลกระทบจนกลายเป็น NPLs
ถึงแม้จะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมาเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ลูกหนี้ทั้งหลายแต่ข้อพึงระวังคือการพักชำระหนี้ การขยายวงเงิน หรือ ขยายจำนวนงวดการชำระหนี้ ในส่วนนี้จำนวนหนี้อาจได้รับความช่วยเหลือแต่เปอร์เซ็นต์ของดอกเบี้ยก็ยังคงดำเนินต่อไป ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้อย่างต่อเนื่องเมื่อมาตรการนี้สิ้นสุดลง ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกำหนดให้ผูบ้ริการทางการเงิน หรือเจ้าหนี้ไม่เรียกเก็บทั้งเงินต้น และดอกเบี้ยในคราวเดียว หรือเก็บก่อนกำหนดได้เลย